Service 3 On-Line Oil Monitoring V.S. Lab Oil Analysis
SCADA – Wireless Remote Control – Oil Monitoring System – Machine Condition Monitoring
OA-1 On-Line Oil Analyzer อยู่ในระบบ IIOT4.0 ที่สามารถใช่สื่อสารได้ทั้ง Remote Monitoring และ Remote Control Operation สื่อสารในแบบ Mini SCADA ที่อ่านค่าคุณภาพของนำ้มันในเวลาใช้งานแบบ Real Time ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง – 365 วัน OA-1 จะอ่านค่าความเปลี่ยนแปลงค่อยเป็นค่อยไปของคุณภาพของนำ้มัน ที่เรานำข้อมูลเหล่านี้มาหา Characteristic และ Behavior ของการหล่อลื่นในเครื่องจักร ถึงลักษณะของสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในนำ้มัน จะได้ป้องกันได้ทันท่วงที
ข้อมูลจาก OA-1 จะบ่งบอกให้ผู้ใช้รู้ถึงปริมาณและอัตราการเข้ามาขอสิ่งสกปรก Contamination Ingression Rate ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สร้างแนวป้องกัน สกัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกให้ทัน ใช้ Filter และ Dehydration ได้อย่างถูกวิธี ทันเวลาก่อนเครื่องจักรเกิดความเสียหาย การส่งนำ้มันตัวอย่างไปตรวจสอบในห้อง Lab เป็นบางครั้งบางคราว หรือตามหลังปัญหาในนำ้มันที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว เป็นเพียงการเดาเท่านั้น ไม่มีข้อมูลมากพอที่จะมาสร้าง Predictive Maintenance อย่างที่เคยอ้างกันมาในอดีต ตามหลักการของ Six Sigma ที่ว่าไว้ What get measured, get controlled.
On-Line Oil Analysis OA-1 Oil Analyzer สามารถตรวจวัดค่าของนำ้มันได้จากหลายจุดในระบบหล่อลื่นในเครื่องจักรแบบ Multiple Point Oil Location หรือจากเครื่องจักรมากกว่าหนึ่งตัว แบบ Centralized System
Tribology 4.0 is IIOT4.0
- ในยุคปัจจุบันเรากำลังเข้า Mode ของ Tribology 4.0 ที่ On-Line Oil Analysis เป็นระบบควบคุมความสกปรกต่างๆ รวมถึงค่า Oil Oxidation, ควบคุมระดับการลดลงของ Oil Additive Depletion ใช้ผ่านสัญญาน Wireless SCADA แบบ Centralized Control System มาควบคุมและ Monitor การเปลี่ยนแปลงของนำ้มัน ศึกษาพฤติกรรม Behavior และ Characteristic ที่เปลี่ยนแปลงไปจาก Input Variances ที่จะไปมีผลกับความเสียหายของเครื่องจักร
- การเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เป็น Data Logging สะสมขึ้นมาให้เป็นในรูป Big Data แล้วใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์แบบ Data Analytics เพื่อสร้างแนวป้องกันที่ถูกต้องแบบ Proactive ที่สามารถตอบสนองแบบ Interactive โดยอัตโนมัติที่ไม่ต้องใช้คนเข้าไปยุ่งเกี่ยวในขบวนการ Process เพราะส่วนใหญ่คนเป็นตัวการสร้างปัญหาให้กับระบบการควบคุมความสกปรกในเกือบทุกขั้นตอน นั่นเอง
- โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เราถูกสร้างชึ้นมาให้ใช้สติปัญญา Wisdom เท่านั้น เราไม่ใช้เกิดมาให้ใช้แรงงาน แต่มนุษย์สามารถเรียนรู้มาควบคุมและทำงานร่วมกับ Automation ได้อย่างยอดเยี่ยมเพราะมนุษย์เรามี Wisdom แม่นยำในการเลือกการตัดสินใจแล้วทำได้ดีอีกด้วย ในขณะ Automation มีความแม่นยำยอดเยี่ยมในการทำงาน แต่ขาด Wisdom ในความคิด
- การรวบรวมข้อมูลของเครื่องจักร Machine Condition เงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลง Parameters ต่างๆ เช่นคุณภาพของนำ้มัน และค่า Variances ในเครื่องจักรที่มีผลกับ Performance การทำงานที่มีประสิทธิภาพของขบวนการผลิต มีความสำคัญมากในการผลิตในระดับ World Class Manufacturing
On-Line Oil Analysis & Machine Condition Monitoring
- On-Line Monitoring System เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของนำ้มันที่ วัดค่าการเปลี่ยนแปลงแบบ Trend Analysis ที่ตัวเลขบอกเป็น Delta (∆) Valueในช่วงเวลาทำงานของเครื่องจักร ทำให้เราไม่เพียงรู้แค่ผลลัพท์ที่เป็นค่าคุณภาพของนำ้มันอย่างเดียว แต่ผลการเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงค่าเหล่านี้ ทำให้เราสามารถสาวความ ข้อมูลตามขึ้นต้นนำ้ลึกขึ้นไปสู่ สาเหตุที่เป็น Variance Input ได้อีกด้วย เพื่อสร้างแนวป้องกันแบบ Proactive ให้กับเครื่องจักรก่อนจะเกิดความเสียหาย
- ส่วนการทดสอบนำ้มันแบบส่งเข้า Lab เป็นการวัดค่าของนำ้มันในจุดหนึ่งของเวลาที่เครื่องจักรทำงานเท่านั้น ข้อมูลได้จากการ Sampling ที่จุดเดียวจะไม่สามารถนำมาเป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมดของการวัดคุณภาพของนำ้มันในระบบได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลจะไม่เพียงที่เราจะนำมาใช้ วัดผลและพัฒนาขบวนการผลิตที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นไม่ได้
OA-1 On-Line Oil Analyzer
- OA-1 Oil Analyzer from OilPure มีคุณสมบัติทาง IIOT4.0 ดังต่อไปนี้
- Communication Protocol แบบ IIOT4.0 Wireless Remote Control and Remote Monitoring System สามารถสื่อสารแบบ Mini SCADA ซึ่ง User สามารถ Dial in เข้ามาพร้อนกันในเวลาเดียวกันไม่เกิน 5 คน.
- PLC Controller มีระดับรักษาความปลอดภัยสูงสุดแบบ 128 bit SSL Encription ที่เป็น High Level Security Algorithms
- OA-1 Controller มี Built-in Server อยู่ภายจึงสามารถสื่อสารผ่าน LAN Line CAT 5 และ Mobile Router ที่ใช้ Static IP Address SIMM Card สื่อสารสู่ Internet ติดต่ดกับภายนอก มี IP Address ประจำตัวในแต่ละเครื่อง
- ผู้ใช้สามารถ Dial in ผ่าน Computer Browser เข้าไปใน OA-1 IP Address ด้วย Password เพื่อ Connect สัญญาน Access ข้อมูลกับ OA-1 Oil Analyzer ผ่าน WebMI Software Capability
- OA-1 Controller สามารถสื่อสารร่วมกับอุปกรณ์อื่นได้แบบ M2M Machine-to-Machine Network ระหว่าง PLC to PLC ถึง 199 PLC units
- ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผลอ่านค่าแบบ Real Time สามารถอ่านค่า Particle Count, Water Content in ppm, Oil Temperature ในจุดต่างๆ ได้มากถึง 10 จุด, Oil Oxidation Deterioration Curve, Oil Additive Depletion Curve ที่เป็นค่า Parameters ภายใน OA-1 ข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงนอกโรงงานได้ทาง Internet จาก PC Computer, iPad, โทรศัพท์มือถือ
- Remote Control from Smart Phones สามารถแสดง Display บนจอ PLC จะแสดง Display อย่างเดียวกันบนโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วแตะควบคุมการทำงานบนโทรศัพท์ เสมือนยืนอยู่หน้าเครื่องกรอง หรือ OA-1 Oil Analyzer unit ผู้ใช้จะเห็นค่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของคุณภาพนำ้มันแบบ Real Time บนโทรศัพท์มือถือ หรือ Laptop Computer
- ค่า Limit Alarm Signal ในแต่ละ Sensor สามารถส่งสัญญานเตือนออกมาได้ทั้ง E-mail และ SMS Text Message ในโทรศัพท์มือถือ ตามที่กำหนดไว้ใน Software Program
- OA-1 จะเก็บสะสมข้อมูล Historical Data แบบ Data Logging ใน PLC Controller ที่เรียกมาใช้ได้ตามระยะเวลาที่เลือก โดย Download ใส่ USB Drive จาก PLC หรือ Laptop Computer แล้วนำมาเปิดใน Microsoft Excel ข้อมูล Historical Data จะเกิดขึ้นใน Excel format ที่ผู้ใช้สามารถนำมาเขียน Report เก็บไว้เป็น Hard Copy ได้ทั้ง Paper file และ Paperless PDF File ใน Hard Drive
- OA-1 มีสัญญาน Output แบบ Interactive ทีไปสั่งให้อุปกรณ์อื่น ทำงานร่วม OA-1 ได้แบบ Autonomous Responsiveness
- Option Mini SCADA ที่ผู้ใช้สามารถเพิ่ม Machine Condition Monitoring ในเครื่องจักรในส่วนอื่นนอกเหนือจากคุณสมบัติของนำ้มันเช่น Pressure Transmitter, Tachometer Sensor, Ultrasonic Level Sensor, Vibration Sensor, Cycle Time Counter etc. เพียงเพิ่มจำนวน Analog Input Module ใน OA-1 Controller ตาม Option ที่เพิ่มขึ้นตาม เจ้าหน้าที่ OilPure จะเขียนโปรแกรม Compile data จากสัญญานอื่นๆ มาเป็นผลลัพท์ในรูปแบบของ Alarms หรือ ค่า Parameters สำคัญที่เจ้าหน้าที่หน้างานต้องรู้ว่าเกิดอะไรกับเครื่องจักรทันที
Machine Condition Monitoring
- OA-1 Oil Analyzer from OilPure เป็นอุปกรณ์วัดค่าคุณภาพของนำ้มันหล่อลื่นแบบ Real Time และ On-Line โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- Particle Count Sensor อ่านค่าความสะอาดมาเป็น NAS Class, SAE Class, ISO Code 4406
- MS1 Moisture Sensor อ่านค่า Water Content เป็น ppm และ % AW (Water Activity)
- OS1 Oil Sensor อ่านค่าการเปลี่ยนแปลงแบบ Curve เพิ่มขึ้นของ Oil Oxidation Rate และมีหน่วยอ่านเป็น 1-10 Scale
- OS1 Oil Sensor ยังอ่านค่าการเปลี่ยนแปลงแบบ Curve ลดลงของ Oil Additive Depletion Rate และมีหน่วยอ่านเป็น 1-10 Scale
- TH Oil Temperature อ่านค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปตามจุดต่างๆ ได้เป็น 10 จุด ที่ Bearing, Pump, Valve, Cylinder etc. ซึ่งแหล่งความร้อนบอกที่มา เป็นจุดกำเนิดของ Oxidation โดยเพิ่มจำนวนของ Digital Input และเดินสาย Thermocouples
- Two Point of Oil Monitoring ระหว่างจุด Oil Reservoir และ Valve Manifold หรือ Oil Return Line เพื่อวัดปริมาณ Oil Contamination Ingression Rate ที่เข้ามาในระบบหล่อลื่น การวัดปริมาณเหล่านี้จะทำให้เรารู้ขนาดขีดจำกัดความสามารถของอุปกรณ์กรองที่รู้ปริมาณ Egression Rate เพื่อแยกสิ่งสกปรกให้ออกได้ทัน
- Data Logging Capability
- Point of Oil Monitoring ยังสามารถเพิ่มมากขึ้นถึง 5-8 จุด โดยเพิ่มจำนวนของ Three Way Solenoid Valves
MS1 Moisture Sensor Monitoring Display
Particle Count Monitoring Display
Oil Oxidation Monitoring Display
Oil Additive Depletion Monitoring Display
Dual Location OA-1 Oil Monitoring – 1st Location from oil Reservoir – 2nd Location from Hydraulic Valve Manifold
Multiple Machine Location OA-1 Oil Monitoring on 4 Machines, OA-1 Rotates on Each Machine every 24 Hours.
OA-1 Controller with Mobile Cellular Networking
Mini SCADA Capability
Machine Condition Monitoring can also work with OA-1 Software and Hardware by adding the sensor Inputs.
ความผิดพลาดและปัญหาที่มาจากผลทดสอบของนำ้มันจากห้อง Lab
- Oil Analysis Lab Report ผลทดสอบยากต่อการตีความหมาย ผลทดสอบเขียนออกมาแบบให้ดูหรูหรา น่าทึม ดูดีดูหวือหวา ซับซ้อน น่าเกรงขาม แต่ดูไม่เป็น อ่านไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจความหมาย แต่รู้สึกดีที่มีผล test เหมือนการไหว้เจ้า ไหว้สิ่งศักด์สิทธิ์ ทำกันไปเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา ไม่เชื่อแล้ว อย่าลบหลู่ ยังถูกขู่ให้กลัวอีกด้วย เหมือนกับธุรกิจร่างทรง เป็นการเสียเงินที่ได้ประโยชน์กลับคืนมาน้อยมากเพราะใช้ไม่เป็น
- เจ้าหน้าที่ในห้อง Lab ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องจักรดีพอ ไม่เคยไปร่วมแก้ปัญหาหน้างาน จึงไม่สามารถแนะนำลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เจ้าหน้าที่ในห้อง Lab ทำหน้าที่ใส่ นำ้มันตัวอย่างในอุปกรณ์ทดสอบแล้วอ่าค่าผลลัพท์ นำตัวเลขที่ได้มาใส่ข้อมูลผลทดสอบใน Data Base แล้วอีเมล์ ส่งให้ลูกค้า นอกจากนี้แล้วก็หมดหน้าที่ ไม่รู้อะไรถึงผลที่เกิดในเครื่องจักรของลูกค้่า
- ส่วนลูกค้าก็มีความรู้น้อย ไม่เข้าใจผลทดสอบนำ้มันที่ซับซ้อน ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่เข้าใจปัญหา ข้อมูลจากอเมริกาพบว่า การเรียนรู้ทางศาสตร์ของ Tribology นี้จะใช้เวลาถึง 7 ปีในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ให้เข้าในศาสตร์นี้ ไม่ใช่ไปเข้าอบรมเรียน 3-4 วัน แล้วจะคาดหวังให้มาเป็นผู้รู้ และผู้เชี่ยวชาญนี้ เป็นไปไม่ได้
- ผลทดสอบที่มาจากห้อง Lab ไม่แม่นยำผิดพลาดส่วนใหญ่ เนื่องจากวิธีสุ่มตัวอย่าง
- การ Calibration ของอุปกรณ์ในห้อง Lab ที่ขาดมาตราฐานที่ถูกต้อง จึงทำให้ผลทดสอบที่ออกมาไม่ตรงกับความจริงที่เกิดขึ้น Lab Equipment ไม่มีเอกสาร ISO 17025 Certification ออกให้เพราะราคาแพงมามาก และใช้เวลา 6-12 เดือนในการได้ ISO 17025 Certification นี้ จึงไม่มีใครทำ
- ราคาค่า Calibration ของอุปกรณ์ในห้อง Lab ราคาแพงมาก และต้องส่งไปอเมริกาใช้เวลา 3 อาทิตย์ จึงไม่มีใครทำกัน ทำให้ผลลัพท์ค่าทดสอบนำ้มันออกมาอย่างคลาดเคลื่อน เอามาใช้อะไรไม่ได้ นอกเหนือจากผู้ใช้และผู้ทดสอบก็ไม่รู้เช่นกัน
- การส่งนำ้มันตัวอย่างไปทดสอบจึงนึกเป็นความเชื่อแบบเชื่อร่างทรง ไม่ได้วิเคราะห์ปัญหาได้ถูกต้องอย่างแท้จริง
ตัวอย่างของความคลาดเคลื่อนและความผิดพลาดจากผลสอบนำ้มันจากห้อง Lab
ผลตัวเลขบอกค่า Wear Element ICP เป็น ppm Part per million ระหว่าง 0.1 ถึง 6.7 ppm ซึ่งมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับค่า Particle Count ที่ NAS 12 หรือ ISO Code 22/22/19 ที่แสดงตัวเลขนับกว่า 2 ล้าน counts (2,262,480) ที่ 5-15 microns แต่ จำนวน ppm อ่านได้แค่ 0.1 – 6.7 ตัวเลขระหว่างผลทดสอบจาก ICP กับ Particle Count ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง
Particle Count NAS 12 บอกถึงความสกปรก ระดับสูงมากจนแทบจะเกินความเป็นจริง เพราะที่ระดับ NAS 12 เครื่องจักร Hydraulic นี้จะวิ่งไม่ได้ หรือ Shut Down พังไปแล้ว
อีกเหตุผลที่ทำให้เกิดตัวเลขผลทดสอบที่ขัดแย้งกันคือ ค่าที่วัดด้วย ICP-AES วัดค่า Wear Elements ที่ขนาดหยาบมาก หรืออาจะอ่านได้ในระดับที่ 25-50 microns ขึ้นไป จึงทำให้ ICP-AES ไม่ได้อ่านค่าสิ่งสกปรกที่มีผลกับเครื่องจักรในเชิงวิเคราะห์ ที่จำเป็นต้องอ่านได้ในระดับตำ่กว่า 10 microns ลงไป ดังนั้นการใช้วิธีและเครื่องมือวัดเช่นนี้ จะไม่มีประโยชน์อะไรกับผู้ใช้ ทั้งๆ ที่เครื่อง ICP ควรจะสามารถอ่านค่า Wear Elements ได้ตำ่ถึงระดับ 7-8 microns อาจจะเป็นการ Set ค่า ICP ที่ไม่ถูกต้อง หรือการ Calibration หรือผู้ใช้เครื่องมือไม่เคยตรวจวัดอุปกรณ์ ไม่เหลี่ยวแล ใส่ใจในอุปกรณ์ มีแต่จะใช้อุปกรณ์ไปเรื่อย สิ่งเหล่านี้จึงมีผลทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดหลงเชื่อจากข้อมูลที่บกพร่อง ด้วยความไม่รู้ อวิชา ก็เลยเชื่อไปตามกัน It’s the blind that leads the blind.
- ค่า Particle Count ISO Code 22/22/19 ไม่น่าจะเป็นค่าอ่านที่ถูกต้อง ค่าที่ระดับ 6 microns (ค่าตัวเลขตรงกลาง) ไม่ควรเป็น 22 จะต้องเป็นน้อยลงกว่า 22 ที่ลดหลันกันมา ควรจะเป็น 22/21/19 หรือ 22/20/19 บ่งบอกถึงประเด็นอาจจะมาจาก 2 ปัญหาคือ
- Sensor Calibration Problem การ Calibration เพี้ยน และไม่เคยส่งไป Recalibrate ในการทำ Sensor Calibration ตามมาตรฐาน ISO Standard ISO บังคับให้ใช้ ฝุ่นผงมาตราฐานที่เรียกว่า AC Fine Dust หรือ AC Coarse Dust มาใช้ Calibrate Particle Sensor เพื่อให้ค่าการอ่านวัดเป็นไปตาม Particle Size Distribution Curve ตามแนวของ AC Fine Dust Test ค่า Curve ที่อ่านจะเป็นค่าที่ลดหลันกันลงมาทั้งสามค่าระดับของ 4 microns/ 6 microns/ 16 microns
- Cross Contamination Problem นำ้มันที่ทดสอบก่อนหน้านี้ มีความสกปรกสูงสุด ดังนั้นความสกปรกได้ติดอยู่ใน Sensor ก่อนหน้านี้ แล้ว เจ้าหน้า Lab ไม่คิดจะล้าง Sensor การทดสอบแต่ละครั้ง ทำให้เกิด Cross Contamination ระหว่าง Sample ก่อนหน้านี้มาติดที่ Sample อันถัดไป นั่นเองทำให้ Particle Count อ่านที่ 22/22/19 ซึ่งไม่ต้องกับความสกปรกตัวจริงที่เกิดขึ้น กรรมวิธีการล้าง Sensor จะต้องใช้นำ้ยาล้าง 2 ชนิด Hexane หรือ Ether และ Alcohol มาตราฐาน Lab CAS # (ไม่ใช่ Alcoholที่ซื้อมาจาก Big C) ล้างติดต่อกัน ชนิดละ 3 ครั้ง ซึ่งจะใช้เวลา 20-30 นาที ดังนั้นจึงไม่มีใครทำเพราะเสียเวลาและของแพง นี่คือสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ Particle Count อ่านค่าเพี้ยนไปจากความจริง
คำวิเคราะห์ก็เขียนแบบซำ้ๆ ที่ไม่ได้ชี้แนะหรือให้ข้อความที่มีความหมาย ผู้ใช้ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไร ดังนั้นการใช้ผลวิเคราะห์จากห้อง lab ทดสอบนำ้มัน จึงไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาเครื่องจักรได้
กลวิธีที่ผลทดสอบนำ้มันจากห้อง Lab ถูกนำมาอ้างอิงใช้อย่างผิดๆ เพื่อผลประโยชน์ จากความไม่รู้ของผู้ใช้นำ้มัน
บริษัทผู้ทดสอบนำ้มันจากห้อง Lab ขายและ สื่อสารให้ผู้ใช้เข้าใจว่า การทดสอบนำ้มันจะเป็นการตรวจสอบเพื่อให้ล่วงรู้ปัญหาของเครื่องจักร ก่อนความเสียหายจริงจะเกิดขึ้นตามมาไม่ช้าที่เรียกว่า Predictive Maintenance เปรียบเสมอใช้ผลทดสอบนำ้มันเป็นหมอดูทายทัก ที่เก่งมีสามารถทำนายอนาคตของเครื่องจักร ว่าเกิดอะไรขึ้นในอนาคตเร็วๆ นี้
บริษัทผู้ขายนำ้มันใช้กลยุทธ์สุมนำ้มันตัวอย่างให้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน เพื่อหวังว่านำ้มันสกปรกเจอปัญหาค่าสึกหรอ Wear Analysis หรือค่า Particle Count และปริมาณ Oil Additive ที่ลดลง ใช้สีแดงแสดงออกบนตัวเลขของผลทดสอบ ใช้ตัวเลขจากผลทดสอบ เป็นตัวชี้เป็นชี้ตาย ทำให้ผู้ใช้กังวล กลัวความเสียหายจะเกิด ตัวแทนขายของบริษัทนำ้มันก็ใช้สถานการณ์จากโอกาสนี้ให้ลูกค้าเปลี่ยนนำ้มัน เพิ่มยอดขาย การเปลี่ยนนำ้มันจึงไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา แต่เป็นการผลักภาระยืดเวลาออกไปเท่านั้น
กลยุทธ์ที่ทั้งบริษัทขายนำ้มันและบริษัทผู้ทดสอบนำ้มันจากห้อง Lab ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบร่างทรง มาใช้กับอุตสาหกรรมนี้ โดยสร้างความเชื่อ ความศรัทธาขึ้นมา จากความศักดิ์สิทธิ์ของความใหญ่โตของบรืษัทนำ้มันและ ความเฮี้ยนจากตัวเลขผลทดสอบของนำ้มันที่ผิดเพี้ยน ให้เกิดบารมีความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ผู้ใช้หลงเชื่ออย่างงมงาย แทนที่จะให้ความรู้ที่ถูกต้อง เป็นสัจธรรมกับผู้ทำให้ฉลาดขึ้นเข้าใจปัญหา เพื่อหาวิธีป้องกันและแก้ไขที่ถูกต้อง นี่ยังไม่รวมถึงผลประโยชน์ส่วนบุคคลที่เจ้าหน้าที่ในโรงงานที่ได้รับอย่างลับๆ อีกด้วยซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
© Copyright, August, 2021 เอกสารและข้อมูลในเว็บไซต์นี้มีลิขสิทธ์ ห้ามนำไปเผยแพร่หรือสื่อสารโดยมิได้รับอนุญาตจาก OilPure