Hydraulic Oil Applications
นำ้มันไฮดรอลิกใช้ปั้มในการส่งถ่ายกำลังและส่งแรงอัดหรือแรงฉีดไปตามท่อในระบบไฮดรอลิก ผ่านท่อ Electro Servo Valve, Proportional Valve, Manifold, Cylinder, ต่างๆ เพื่อเปลี่ยนพลังงานของไหล มาเป็น Mechanical Forces มาผลิตชิ้นงานต่างๆ
วัฎจักรปัญหาของ Hydraulic Oil ในการหล่อลื่นและการส่งแรงกำลังผ่านชิ้นส่วนภายในอุปกรณ์ไฮดรอลิก และ ความเข้าใจปัญหาที่เกิดในนำ้มัน Hydraulic Oil ที่สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
- Quality Products – ลูกค้าเรียกร้องต้องการ ชิ้นงาน ที่มีคุณภาพจากผลิตที่ต้องให้ได้ขนาด Precision ภายใน Tolerance ที่ต้องการ เพื่อนำ ชิ้นงานนี้ ไปผลิตสินค้าของเขาได้อย่างมีคุณภาพสมบูรณ์
- Precision Hydraulic Forces – แรงอัด หรือ แรงฉีด ถูกสร้างขึ้นจาก Hydraulic pump ที่ใช้นำ้มันไฮดรอลิกในการส่งถ่ายกำลังและส่งแรงอัดหรือแรงฉีดไปตามท่อในระบบไฮดรอลิก ที่แม่นยำเพื่อไปสร้าง Precision หรือ Tolerance ให้กับชิ้นงาน ในการอัดหรือฉีดด้วยกำลังแรงมหาศาลเหล่านี้ ชิ้นงานจะเกิดการบิดเบี้ยว defect หรือ Out of Tolerance ไม่ได้
- Servo Valve & Proportional Valve – เป็นอุปกรณ์ประเภท Electro-Mechanical Valve ที่จะเปิดปิด ให้นำ้มันไฮดรอลิกวิ่งผ่านไปถ่ายแรงและพลังงานบนชิ้นงานที่ผลิต ความสำคัญอยู่ที่จังหวะ Timing การเปิด ปิดของวาล์ว เร็วในระดับ Nano Seconds เหล่านี้ที่ทำให้ชิ้นงานได้ precision ที่ถูกต้องจากแรงอัดที่แม่นยำ ที่ถูกควบคุมจากจังหวะหรือ Timing จากการเปิดปิดของ Servo Valve อย่างถูกต้องตามค่า PLC Software ที่ได้ Set ค่าไว้ใน PLC Controller
- Friction Control on Servo Valve – วาล์วเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวแบบกระสวยที่ชักเข้าออกอย่างรวดเร็ว High speed valve ที่มีจังหวะเปิดปิด Valve Timing ภายในเวลา Nano Seconds ที่ไม่ถึงเสี้ยววินาที ผิดพลาดกันเพียง Nano Seconds ชิ้นงานจะมีปัญหาทันที เรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่า Valve Miss Timing เป็นการที่วาล์วพลาดจังหวะของการส่งผ่านแรงอัด Friction บนผิววาล์ว นี้เรียกว่าเกิดสภาวะ Sticky Valve เกิดการเสียสภาพการหล่อลื่นบนตัววาล์ว แรงเสียดทานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนวาล์วสดุด Shut down หยุดทำงาน เครื่องไฮดรอลิกจะเกิด Downtime ทันที
- High Surface Temperature & High Surface Precision – บนผิวของ Servo Valve เมื่อส่วน spool ของวาล์ววิ่งผ่านช่อง Valve Cylinder ด้วยความเร็วสูงทำให้เกิดความร้อนที่อุณหภูมิ 500 °F หรือ 260 °C บนผิววาล์ว และช่องว่างระหว่าง ก้าน Spool และ ข่อง Cylinder มี Tolerance Gap ขนาด 1-2 microns เท่านั้น นำ้มันไฮดรอลิกจะต้องวิ่งผ่าน Valve ที่มีผิวอุณภูมิสูงถึง 500 °F หรือ 260 °C และวิ่งผ่านช่องว่างที่เล็กมาก ระหว่าง ผิววาล์วขนาด 1-2 microns นำ้มันไฮดรอลิกจึงเริ่มเสื่อมสภาพ เสียคุณสมบัติการหล่อลื่นลงไปเรื่อยๆ จากการทำงานเหล่านี้
- Oil Acidity & Oil Oxidation By-Products – ความเป็นกรด Oil Acidity จะเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อนำ้มันไฮดรอลิกได้รับ ความร้อนเกิน 80 °C ขึ้นไป ยิ่งที่ 260 °C ยิ่งทำให้ความเป็นกรดเกิดขึ้นตลอดเวลา Acid นี้เป็นกรดประเภท Carboxylic Acid ที่กรดไปทำปฎิกิริยา Oil Oxidation Reaction กับ Base oil (C-H-O) ที่ดึงโมเลกุลของ Carbon และ Oxygen ออกมากลายเป็นกรดตัวแรก ส่วนกรดประเภทที่ 2 เป็นกรดประเภท Lewis Acid ที่มี Hydrogen เป็นองค์ประกอบ ปฎิกิริยา Oil Oxidation มีผลทำให้เกิด Varnish ยางเหนียวตามมามากมายในระบบไฮดรอลิก และเป็นต้นตอของการเกิด Internal System Corrosion ในชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในอีกด้วย
- Oil Additive Depletion – Lewis Acid นี้ไปทำปฎิกิริยา Oil Oxidation Reaction กับ Oil Additives ทำให้ปฎิกิริยาแลกเปลี่ยนจาก Good Additives กลายมาเป็น Bad Additives ที่เห็นออกมาในรูปของ Varnish หรือยางเหนียว Good Hydraulic Oil Additive ตัวสำคัญคือ Zinc Dithiophosphate (ZDTP) จะถูกกรด ทยอยเปลี่ยนไปเป็น Zinc Oxides หรือ Bad Additive หรือตัว Varnish ยางเหนียวนั่นเอง ที่เป็นสารกลุ่มประเภทของ Metal Oxides ยางเหนียวและ Oxidation by-products ที่ หลากหลายรูปแบบ นี้จะติดตามชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฮดรอลิกต่างๆ เช่น ผิว Servo Valve, gear pump, oil reservoir tank wall, sight gauge etc. ที่สามารถมองเห็นเป็น รอยคราบสกปรกสีนำ้ตาล บนผิว แล้วใช้ผ้าเช็ดไม่ออก ปริมาณ Oil Additives ก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถช่วยป้องกันการสึกหรอ และการหล่อลื่นได้ ความเสียหายก็จะเกิดตามมาแบบทวีคูณ Exponential
- Oil Leakage นำ้มันรั่ว – เมื่อนำ้มันไฮดรอลิกเกิดความเป็นกรดสูงขึ้น กรดจะไปทำปฏิกิริยากัดกิน O-Ring Seal หรือ Gasket ปะเก็น ทำให้เสื่อมสภาพสูญเสียความยืดหยุ่น Elastomer เกิดการ แข็งตัว เปราะ และแตกหักในที่สุด นำ้มันไฮดรอลิกก็จะซึมทะลุผ่าน O-Ring Seal หรือ Gasket ปะเก็น เหล่านี้ออกมานอกเครื่องจักร O-Ring Seal หรือ Gasket ปะเก็น นี้จะทำหน้าที่เสมือนเป็น ฟิลเตอร์กรองละเอียด ในการกรองนำ้มันรั่วจากถัง สิ่งสกปรกในนำ้มันก็จะถูกเก็บสะสมไว้ในถังไม่ไหลออกมา ในขณะที่ นำ้มันรั่วกลายเป็นนำ้มันสะอาด ที่ถูกกรองแล้วไหลออกมา แต่ดูเหมือนสกปรกเพราะมาเลอะสิ่งสกปรกที่อยู่ภายนอกเครื่องจักร
Varnish ยางเหนียว หรือ Oxidation By-products เกาะติดบนผิว Servo Valve
Oxidation By-products ชนิด High Thermal Oxidation เกาะติดบนผิว Spool Valve
ตัวอย่างของ ของเสีย Defective Part ที่มาจากระบบ Hydraulic ในเครื่องฉีดพลาสติก ที่ส่งผ่านแรงอัด Oil Pressure ที่ไม่สมำเสมออัดผ่าน Servo Valves ที่ฝืด ขาด Friction Free ขาดการหล่อลื่นสมบูรณ์ บนขอบผิวภายในของ Valves ทำให้เนื้อพลาสติกเหลว กระจายส่งไปไม่ทั่วในเนื้อ Die และ Mold ที่ถูก Set ไว้ทำให้เกิดรอยแหว่ง เนื้อพลาสติกที่ขาดหายไป ตามที่เห็นในรูปข้างล่าง ชิ้นงาน Defect เหล่านี้มีผลโดยตรง 100% จากสิ่งสกปรกประเภทยางเหนียวหรือ Varnish หรือ Oxidation By-Products ไปอุดตันบนผิวภายในของ Servo Valve ซึ่งผู้ใช้มักจะเข้าใจผิดว่าเกิดมาจาก Mold หรือ Die ที่ผิดเพี้ยน และปัญหา Defect นี้ก็มักจะเกิดขึ้นบ้าง แล้วหายไปบ้าง ตามอารมณ์ของเครื่องจักร ผู้ใช้งานไม่รู้ ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร
ความสกปรกบน Sight Gauge บ่งบอกถึงสภาพการสึกกรอนภายใน Internal Corrosion ของระบบไฮดรอลิก
รอยรั่วที่เป็น Stain บนถังและผิวอุปกรณ์ไฮดรอลิก บ่งบอกถึงสภาพการสึกกรอนภายใน Internal Corrosion ของระบบไฮดรอลิก
ปัญหาความเสียหาย ที่เกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิก ที่มีผลมาจาก Oil Contamination ความสกปรกในนำ้มัน ที่มาจาก Solid Particle, Dissolved Water และ Oil Acidity (Oil Oxidation) กว่า 80% เป็นสาเหตุเบื้องต้น ที่มาของปัญหาเหล่านี้
- Oil Leakage – ปัญหานำ้มันรั่ว ความเป็นกรดทำให้ O-Ring Seal หรือ Gasket ปะเก็น แข็งตัว เปราะ และแตกหัก ทำให้เสียจำนวนมา Top up เติมนำ้มันใหม่อยู่บ่อยครั้ง เป็นต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นที่ต้องเสียเงินซื้อนำ้มันใหม่ และอาการรั่วจะยิ่งแย่ขึ้นเรื่อยๆ จากเคยเปลี่ยน O-Ring Seal หรือ Gasket ปะเก็น ในทุกๆ 3 เดือน กลายเป็นทุกๆ 1 เดือน และปริมาณรั่วก็จะเพิ่มมากขึ้นตามแย่ไปเรื่อยๆ มาจากสาเหตุของเครื่องจักรสั่นสะเทือน Vibration กระเทือนและกระชากมากขึ้น ซึ่งมีต้นเหตุมาจาก Bad Part Precision การสึกหรอในเครื่องจักร เครื่องหลวม
- Defective Parts – ชิ้นงานเสียหาย ถูกผลิตออกมาไม่เป็นไปตาม Specs ที่คาดไว้ ชิ้นงานบิดเบี้ยว, ชิ้นงานหนาบางไม่เท่ากัน เป็นปัญหาที่เรียกว่า Precision Quality Problem เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้เกิดการ Claim ของคืนจากลูกค้า สูญเสียความเชื่อมั่นจากลูกค้า ต้องผลิตสินค้าใหม่ ชดเชยชิ้นส่วนที่ถูก Claim มา (ผลิตสินค้า 2 ชิ้น ได้เงินจากลูกค้าชิ้นเดียว) ถือเป็นต้นทุนการผลิตที่มีราคาแพงมาก
- Equipment Downtime – เครื่องจักรเสียหายหยุดทำงาน Bad pump, Bad Bearing, Sticky Servo Valves, Worn Out Cylinder, Broken Tie Bar เป็นความเสียหายจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิกทั้งสิ้น ที่ทำให้ระบบหยุดทำงาน ทำให้เกิดปัญหา Production Lost ส่งชิ้นงานให้ลูกค้าไม่ตรงเวลา เสียเงินและเวลาในการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ไปเพิ่มต้นทุนที่เกินงบประมาณ Budget ไม่พอ ทำให้ระบบการทำงานวุ่นวาย คนงานและแรงงานมีไม่พอซ่อมบำรุง ซ่อมแซมกันอย่างไม่มีวันหยุดหย่อน
- Asset Utilization & Return on Asset – กำไรจากทรัพย์สินในเครื่องจักร มีผลไปลดกำไรที่มาจาก ROA Return on Asset ที่มีผลจาก OEE Overall Equipment Effectiveness มาจากเครื่องจักรหยุดทำงาน ค่าซ่อมแซมค่าเสียหายของเครื่องเกินมาตราการ Benchmark ที่ถูกกำหนดไว้ ดัชนีการวัดประสิทธิภาพ KPI Key Performance Indicator ตกตำ่ เป็นตัวไปลดค่า Operation Leverage ในเชิงบัญชี ที่ควรจะได้จากการใช้เครื่องจักรที่เป็น Capital Intensive คือไม่กำไรคืนทุนกลับมา พร้อมกับต้นทุนการซื้อนำ้มันใหม่มาถ่ายเปลี่ยนที่มีราคาแพงมาก ต้นทุนการนำ้มันนี้สามารถแก้ได้ด้วยการนำนำ้มันใหม่มายืดอายุ ใช้งานต่อได้ โดยไม่ต้องซื้อนำ้มันใหม่
- ISO-9000 & ISO-14000 – มาตราฐานการควบคุมคุณภาพ และ สภาพแวดล้อม เป็นปัญหาใหญ่ที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามมาตาฐาน ISO-9000 ที่ถูกควบคุม สิ้นค้าที่ผลิตออกมามีของเสียเยอะคุณภาพตำ่ ขายไม่ได้ราคา ต้องขายในตลาดล่างที่ราคาถูก คุณภาพตำ่ มีนำ้มันรั่วไหลมากมาย ที่ต้องกำจัดให้ถูกต้องตามกฎหมายจากกรมมลพิษ เงื่อนไขไม่ตรงไปตามเงื่อนไข ISO-14000 การทำเอกสารการแสดงการกำจัดของเสีย Waste Manifest Document ทำได้ลำบากมาก ต้องมั่ว แจ้งข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สุดท้ายก็มาลงที่การจ่ายใต้โต็ะกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อยุติปัญหา
ปัญหาเหล่านี้เป็น ปัญหาลูกโซ่แบบ Chain Reaction ที่เกิดตามกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไปบั่นทอน ลดความสามารถในการแข่งขัน Competitive Advantage ของบริษัท ในตลาดสากล ไปลดความได้เปรียบของบริษัท ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ไม่สามารถควบคุมได้ Cost Disadvantage ไปลดการลงทุนของบริษัท ที่ไปขยายกิจการธุรกิจ ลดพนักงานการจ้างงาน Net Profit กำไรสุทธิ ตำ่กว่าที่ผู้ถือหุ้นเรียกร้อง ผู้ถือหุ้นถอนทุนจากบริษัท
ปัญหาในระบบ Hydraulic นี้มีเกิดขึ้นกับเครื่องจักรทุกเครื่อง ทุกชนิด เพียงแต่จะมีมากหรือน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและกำลังของ Hydraulic Systems ปัญหานี้เกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด ที่มีรากเง้ามาจากเหล่าของ ความอวิชชา นั่นเอง
ในส่วนแรก มาจาก ความอวิชชาของผู้ใช้ ที่ไม่มีคนแนะแนวทางที่ถูกต้อง ไม่มีคนมาสอน ร่วมกับ การขาดความใฝ่รู้ ความมักง่าย ไม่มีความเป็นเจ้าของ ที่ไม่พยายามหาหนทางแก้ไข จึงปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้น ดำเนินการไปตามยถากรรม ไม่คิดจะดูแลให้ถูกต้อง หรือถ้าไม่ได้ผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ไม่รู้ว่าจะพยายามทำไปทำไม ขาดการเป็นวิศวกรมืออาชีพที่แท้จริง ผู้ใช้จากฝ่ายจัดซื้อ จึงมี นโยบายเลือกผู้ขายสามเจ้า ประมูลตัดราคาซื้อนำ้มันที่ให้ราคาถูกสุด นึกว่าดีแล้ว ทำถูกแล้ว แต่ไม่รู้ว่าได้ ซื้ออะไร มองไม่ออก แยกไม่เป็น จึงซื้อนำ้มันมี Oil Additives ปริมาณน้อยที่สุด มาพร้อมกันคุณภาพฮ่วยสุด สมราคา คิดว่าจะได้ของดี กลับทำให้เกิดความเสียหายในเครื่องจักรตามมามากมาย นำ้มันหล่อลื่นจึงขาดคุณสมบัติที่ไม่เพียงพอที่จะไปป้องกันความเสียหายในเครื่องจักร จัดซื้อได้ แต้ม KPI สมใจนึก แถมเงินสมมาคุณ อีกด้วย แต่ฝ่ายปฎิบัติการ วิ่งซ่อมแบบวินาศสันคะโร นี่เป็นปัญหาที่เกิดมาจากภายในองค์กร
ในส่วนที่สอง มาจาก ความอวิชชาของผู้ผลิต – ผู้ขายนำ้มันหล่อลื่น ที่ไม่ได้ชื้นำ วิธีบริหารจัดการนำ้มันหล่อลื่นที่ถูกต้อง Oil Management System หวังแต่จะขายตัดราคากันอย่างเดียว ไม่ได้สอนชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง วิธีปฎิบัติสร้างแนวป้องกัน Proactive Preventative Maintenance and Machine Reliability ให้กับผู้ใช้ ผู้ขายใช้เวลาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด สร้างความสัมพันธ์ เอาใจกับผู้ใช้ แต่ลืมจรรยาบรรณของการเป็น Sustainable Supply Chain ใช้ผลทดสอบนำ้มัน Oil Analysis แบบผิดๆ ใช้เสมือนเครื่องลางของขลัง ลวงให้ผู้ใช้เข้าใจผิด เพื่อมุ่งหมายให้ผลประโยชน์เข้าทาง ของผู้ขาย ขาดความรู้ที่แท้จริงในเรื่อง Oil Additives ที่ไปมีผลตอบรับที่ดีในเครื่องจักร ทางศาสตร์ Tribology ดังนั้นเมื่อไม่รู้จริง ก็ต้องใช้วิชามั่วลูกเดียว ที่ในอเมริกาฝรั่งเขาเรียกว่า Fake it until you make it. นี่เป็นปัญหาที่เกิดมาจากภายนอกองค์กร ที่อยู่ใน Supply Chain หรืออาจเรียกแบบไทยๆ ว่าเป็น ซับพลายฮั้ว จะถูกต้องมากกว่า
ในประเทศไทยผู้ที่รู้จริงและเชี่ยวชาญทาง Tribology & Lubrication Engineer แม้ในระดับ ด๊อกเตอร์ แทบไม่มีเลย มีแต่ผู้อวดรู้ ทำตัวเป็น ร่างทรง ล่อลวง ให้เชื่อในทางผิดๆ อย่างเช่น ลูกค้าไม่อยากเสียเงินจำนวนมากซื้อนำ้มันใหม่ ผู้ขายจึงแนะนำให้ใช้วิธี ถ่ายเปลี่ยนนำ้มันเก่าออกครึ่งหนึ่ง 50% แล้วใส่นำ้มันใหม่ทดแทนลงไป 50% ถามว่าทำแบบนี้ไปทำไม ผู้ชายจะบอกให้ลูกค้าเชื่อว่า จะเป็นวิธีประหยัดที่ ทำให้นำ้มันที่เสียไปแล้ว ดีขึ้นมาอีก ครึ่งหนึ่ง ฟังดูแล้วน่าเชื่อถือ เป็นเหตุเป็นผลดี แต่ไม่ถูกต้อง
ความจริงแล้วในศาสตร์ทาง Tribology บอกไว้ว่า คุณกำลังทำให้นำ้มันดี เสียลงไป ครึ่งหนึ่ง จะไปลดความสามารถในการป้องกันเครื่องจักรจากความเสียหาย เพราะนำ้มันที่เสียไปแล้ว คุณไม่สามารถเรียกกลับมาได้ คุณไม่ได้ทำให้นำ้มันเสียดีขึ้นมาได้ มันเสียแล้วก็เสียเลย นอกจากจะแยกกรองสิ่งสกปรก Oil Contamination ออกจากนำ้มันเสียให้หมด จึงจะทำให้นำ้มันเสียกลับดีขึ้นมาเหมือนเดิมได้ ไม่ใช่เอานำ้ดีไปไล่นำ้เสีย สุดท้ายแล้วนำ้ก็จะเสียทั้งแม่นำ้ ไม่ใช่วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง แต่ผู้ใช้ก็เชื่อตามกันมา จนเป็นประเพณี ทุกระดับ ทุกรุ่น จนกลายเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้าน เชื่อกันทั้งประเทศ นี่แหละคือ ร่างทรงพันธ์ุแท้ที่ได้สร้างความเสียหาย เพิ่มต้นทุนให้กับอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยไม่รู้ตัว ไม่เชื่อแล้วอย่าลบหลู่อีกด้วย เป็นความโง่แบบยกยวงที่มาจากความอวิชชาอย่างสิ้นเชิง ที่ปล่อยให้ คนตาบอด จูงคนตาบอดด้วยกัน
ปัญหาในเรื่องเหล่านี้มีแหล่งเกิดมาจาก 3 แหล่งคือ
- ปัญหาของสภาพนำ้มันที่ใช้อยู่ ไม่ได้มี การตรวจสอบ สิ่งสกปรก ปริมาณนำ้ที่มีอยู่ ชนิดและขนาดของ Solid Particle ความเป็นกรด Oil Acidity ในรูปผลทดสอบของค่า TAN (Total Acid Number) ที่ทำให้เกิด Oil Oxidation ตามมาและ คุณภาพของ Oil Additives ที่ยังคงมีอยู่ ขาดการทำ CBM (Conditional Base Monitoring) ในนำ้มัน นำ้มันได้ถูกปล่อยปะละเลย ไม่ได้รับการดูแล ปล่อยรั่ว แล้วก็คอยแต่เติม Top up ไม่มีใครสนใจ จำเป็นต้องควบคุมความสกปรกตามแบบ Principle of Oil Contamination Control
- ปัญหาเครื่องจักรเสียหายที่ตามมา ไม่มีการสร้างแนวป้องกัน Proactive Preventative Maintenance Program ในระดับ TPM (Total Productive Maintenance) ในการบำรุงรักษา ไม่มีการตรววัด ตรวจสอบค่า Performance Parameters จากอุปกรณ์ต่างๆ ในเครื่องจักร No Equipment Monitoring เมื่อเครื่องจักรมีปัญหาจนหยุดวิ่ง จึงเริ่มซอมแซมเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นงานแบบ Reactive Maintenance ไม่มีการจัดทำ Root Cause Analysis เพื่อมองหาสาเหตุเริ่มต้น แก้ปัญหาเพียงให้กลับมาวิ่งได้ Repair to run but Not fix to last สุดท้ายปัญหาเดิมก็จะกลับมาเกิดซำ้แล้วซำ้อีกเป็นวัฎจักร Cycle
- ปัญหาเกี่ยวกับคนและบุคคลากรผู้ใช้ ที่ขาดการพัฒนาทาง Mind Set และ Skill Set ทัศนคติความคิดในการทำงานที่ถูกต้อง ขาดการปลูกฝังในการทำงานที่เป็นระบบที่เรียกว่า Coaching การสอน การอบรมและสั่งงานลงมา อย่างเดียวไม่พอ แล้วจะไม่มีใครทำตามที่สั่งภายหลัง ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในงานที่ทำ ไม่เข้าใจถึงผลสื่บเนื่อง Consequence ที่จะตามมาจาก การละเลยหรือการไม่ทำตามสั่ง ใช้ความอวิชชามั่วทำงานอย่างผิดๆ อู้งาน หลีกเลี่ยงหน้างาน เนื่องจากสภาพเครื่องจักรสกปรก เลอะเทอะ เหม็น ไม่สะดวกในการทำงาน คนงานจึงเลี่ยงหนีงาน สภาพโรงงานขาดการทำ ห้าสอ (5S) ใน Lean Production ไม่มีการจัดการ Organize ระเบียบเครื่องมือ ความสะอาด ความมีวินัย ที่ทำให้สถานที่ดูน่าทำงาน ขาดแรงจูงใจ ผลตอบแทนที่จะได้กลับมาหลังจากผลงานได้บรรลุเป้า Lack of Motivation คนงานจึงเลือกที่จะแสวงหา ผลประโยขน์ส่วนตัว ในรูปของ อมิสสินจ้าง รับเงินใต้โต๊ะ องกรค์ขาดการพัฒนาเพิ่มขีดจำกัดความสามารถในรูป Human Capital จะต้องพัฒนาบุคคลากรนี้ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ก่อน ปัญหาก็จะค่อยคลายไป ไม่ใช่ใช้เป็นเพียงแรงงาน
วิธีแก้ปัญหาใน นำ้มันและ เครื่องจักร – บุคคลากรจาก ผู้ใช้ – ผู้ผลิตและผู้ขายนำ้มัน จะต้องเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงในคนและบุคคลากรที่เกี่ยวข้องเสียก่อน นำ้มันและ เครื่องจักร ทำตัวเสียหายเองไม่ได้ มีแต่คนเท่านั้น ที่ไปทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมา ต้องแก้ที่คนก่อน
วิธีแก้ปัญหาจากบุคคลากรผู้ใช้
- Mind Set (Attitude) & Skill Set ทัศนคติความคิดที่ไปสร้างความเช่ียวชาญในงาน ร่วมกันทำงานเป็น Team Work ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยจิตใจแบบ “One for All, All for One” การไปสร้างทัศนคติความคิดที่ดีนี้ จะนำเราไปสู่ความเชี่ยวชาญความเก่งและฝีมือใหม่ๆ ที่ช่วยให้เราพัฒนาตัวเองให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้รู้หน้าที่และความรับผิดชอบที่ควรมีในงานที่ทำ
- Inquisitive ความใฝ่รู้ของผู้ใช้งาน ความอยากรู้อยากเห็น เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในหลายด้าน รอบด้านของขบวนการของงาน การเรียนรู้ของในใหม่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต Learning is a lifetime.
- Continuous Improvement การพัฒนาเรียนรู้ของใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เลิกความคิดที่เป็นนักอนุรักษ์ ทำตามวัฒนธรรมเดิมที่มีมาแต่อดีต กินของเก่า ใช้ของเก่า ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงหรือ คิดต่างไปจากเดิม
- Technologist ใฝ่ฝันนำเทคโนโลยี่ใหม่ๆ มาเป็นอาวุธในการแก้ปัญหา อย่าใช้ของเก่า ของเดิมๆ ที่ไม่ได้ช่วยให้ขบวนการพัฒนาให้ดีขึ้น ใช้เทคโนโลยี่ใหม่เปลี่ยนโฉม เปลี่ยนรูปงานใหม่ ให้ดีขึ้น ง่ายขึ้น
- Value Purchase Not by Price เลือกซื้อตามมูลค่าและคุณค่าของสินค้าและบริการ ไม่ใช่เลือกซื้อตามราคาถูกสุด เพราะจัดซื้อกลัวจะไม่ได้แต้ม KPI แต่ไปสร้างปัญหาความเสียหายให้กับฝ่ายผลิตและฝ่ายบำรุงรักษา
- Work Ethic จรรยาบรรณในการทำงาน ต้องรู้ว่า ความถูกต้องอยู่ที่ตรงไหน จึงจะเลือกทำในสิ่งที่ควรทำ เพราะความผิดถูก มันวัดกันไม่ได้ แต่ ควรหรือไม่ควร มันตอบได้ทันที ให้ทำเพื่อผลประโยชน์ขององกรค์ส่วนรวม ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว เพราะเรารับเงินเดือนจากบริษัท เราต้องตอบแทนในการทำงานให้ดีที่สุด การที่พนักงานรับเงินใต้โต๊ะ เป็นการปล้น ขโมยเงินของบริษัทโดยอาศัย ผู้ขายเป็นเพียงคนกลางที่ตัดเงินผ่านเท่านั้น เพราะเงินนี้ได้มาจากต้นทุนที่บริษัทต้องจ่ายเพิ่มบนราคาสินค้า ไม่ใช่เป็นเงินที่มาจากความเสน่หาจากผู้ขาย
- Leadership ความเป็นผู้นำ ที่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่อยู่เฉยๆ ทำตามกันไปอย่างเดิม ไม่คิดจะทำตามในสิ่งใหม่ๆ ทำแต่ในอดีต การเป็นเถ้าแก่ที่ดี จะต้องมาจากเป็น ผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีก่อน ซึ่งจะเกิดได้มาจากการเป็นผู้ตามหรือเป็นลูกน้องที่ดีในช่วงแรก กลายเป็น ลูกน้องที่ดีจนไม่มีที่ว่างให้เราเติบโต บริษัทต้องโยกย้ายเราให้ขึ้นไปเป็นหัวหน้าหรือผู้นำ
- Lean-on Supply Engineering เรียนรู้ความรู้ใหม่จากความเชี่ยวชาญของผู้ผลิตที่รู้จริง แสวงหา Supplier ผู้ขายที่ มีความรู้ประสบการณ์ที่ถ่ายทอดให้เราเก่งได้ อย่างมองหา Supplier ที่เป็นตัวแทนบริษัทต่างชาติมาเพียงขายสินค้าให้เรา ซื้อมาขายไปที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม เราต้อง เรียนรู้ Know How จาก Supplier เหล่านี้ที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย หรือ เห็นแก่พนักงานสาวสวย ที่มาคอยหลอกล่อเราให้ซื้อสินค้า
วิธีแก้ปัญหาจากผู้ผลิตและผู้ขายนำ้มัน
- Honesty & Integrity ซื่อสัตย์และยึดถือหลักคุณธรรม ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับลูกค้า ไม่ปิดบังความจริงหรือ ให้เพียงข้อมูลบิดเบื้อนเพื่อให้ลูกค้าซื้อของเรา ต้องพูดความจริง
- Partnership with Customer เป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรทำงานร่วมกับลูกค้า ไม่ใช่เป็นโจร คอยแอบปล้นเงินจากลูกค้า เป็นหน้าที่ของเราที่จะพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยพัฒนาแก้ปัญหา ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้เงินก่อนแล้วค่อยจึงทำ แต่ทำให้ได้ ทำให้ดี ก่อนแล้ว เงินและประโยชน์ของเรา ก็จะตามมา เพราะลูกค้าจะได้กำไรเพิ่ม กำไรที่เพิ่มขึ้นนี้คือ เงินที่เราจะได้ตามมาทีหลัง เป็นนำ้พักนำ้แรงของเราด้วยความภูมิใจ
- Expertise & Knowledge Base เป็นแหล่งให้ความรู้ถ่ายทอดความเชี่ยวชาญ ใช้ความรู้ความสามารถของเราเป็นที่พึ่งให้กับลูกค้า ใช้ความเชี่ยวชาญ นำทางให้ลูกค้า ไปสู่ความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมของเขา
- Solution Provider แก้ปัญหาให้กับลูกค้า ไม่ใช่ไปสร้างปัญหาต่อเนื่องที่ซ่อนเร้นในขบวกการผลิต อย่าปล่อยให้ลูกค้าจมปรักอยู่ในวัฎจักรของความอวิชชา ให้จำไว้ว่า ปัญหาของเขา คือ ปัญหาของเรา
- Profit Driven สร้างกำไรลดต้นทุนการผลิตให้ลูกค้า แสวงหาแนวคิดใหม่ๆ Innovation ที่ช่วยให้ลูกค้าเพิ่มกำไร เพิ่มสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับลูกค้า อย่าหากินกับความอวิชชา ของลูกค้า
- Corruption & Bribery การให้สินบนและใต้โต๊ะ หยุดการเกื้อกูลลูกค้าด้วยการนำเสนอผลประโยชน์ส่วนตัว ให้อมิสสินจ้าง เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ผิดจรรยาบรรณ เห็นแก้ได้ เพื่อให้ขายสินค้า เอาชนะคู่แข่งได้ สิ่งเหล่านี้คือ มะเร็งในสังคมไทย
จะเห็นว่าการแก้ปัญหานำ้มันเร่ิมต้นที่บุคคลากรทั้งสิ้น ส่วนวิธีการ และ Know How นั้นทางบริษัท OilPure เราจัดหาทางเทคนิคช่วยท่านได้ ไม่ยาก แต่ต้องแก้ที่คุณภาพของคนก่อน People Problem First, Technical Problems After.
Leaked Oil Problems ปัญหานำ้มันรั่ว เป็นเรื่องใหญ่ งานเข้า จำเป็นต้องแก้ไขอย่างถูกวิธี
ความสกปรกในนำ้มัน Oil Contamination มีผลอย่างมากกับ ประสิทธิภาพของ Cycle Time ในการทำงานของระบบไฮดรอลิก
ปัญหานำ้มันรั่วสามารถแก้ไขได้จากการสร้างแนวป้องกัน Proactive Maintenance ที่ถูกวิธี ไม่ใช่คอยวิ่งตามแก้เมื่อปัญหาหลังเกิดขึ้นแล้ว Reactive Maintenance
นำ้มันรั่วเกิดขึ้นเป็นสัญญานเตือน บอกอาการของเครื่องจักรกำลังมีปัญหา และการขาดวินัยในความไม่ใส่ใจดูแลเครื่องจักร ปล่อยปะละเลย ของพนักงาน
เกือบ 30% (21.4% + 6.8%) ของสาเหตุที่เกิดนำ้มันรั่วมาจาก สิ่งสกปรกในำ้มัน Oil Contamination จากผลงานวิจัยในอเมริกา
ชนิดของงานและประเภทของขบวนการที่ใช้ระบบไฮดรอลิกในการทำงานของเครื่องจักร
Forging การอัดขึ้นรูปของแรงอัดให้เนื้อโลหะมีความหนาแน่นและแข็ง เช่น อัดล้อแม็กอะลูมิเนียมรถยนตร์ หรือชิ้นส่วนงานช่วงล่างของรถยนต์ ชิ้นโลหะจะถูกเผ่าให้ร้อนจัดก่อน Hot Forging หรือ Cold Forging ด้วยแรงไฮดรอลิกขนาด 1,000-3,000 ตัน
Aluminum Die Casting ใช้แรงไฮดรอลิกอัดอะลูมิเนียมร้อนละลาย อัดขึ้นรูปเข้าไปใน Die ให้ได้ชิ้นงาน ที่ต้องใช้นำ้มันประเภท Synthetic Fire Resistance Hydraulic Oil ที่ทนไฟไม่ติดไฟที่ผิวโลหะมีอุณหภูมิตำ่กว่า 500 °F (260 °C) ได้ตามมาตราฐาน FM Factory Mutual นำ้มันธรรมดาประเภท Mineral Hydraulic Oil จะมีจุดติดไฟ Flash Point ที่ 380 °F (193 °C) จะทำให้เครื่องจักรเกิดไฟไหม้ได้เมื่อนำ้มันนี้รั่ว หยดลงจุดร้อนของเครื่องจักรหรือชิ้นงาน
Plastic Injection Molding ใช้แรงไฮดรอลิกอัดเนื้อพลาสติกเข้าไปใน Die เบ้าหลอมหรือ Cavity Mold ที่อัดชิ้นงานให้ได้จำนวนชิ้นงานมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องที่มีขนาด 250 – 3,000 ตันขึ้นไป
Hydraulic Press ใช้แรงไฮดรอลิกสร้างแรงมาพับแผ่นโลหะให้ขึ้นรูป เครื่องพับมีมี Precision ในการพับเหล็กที่ต้องมี Tolerance ของพับที่ 1 /1,000 inch จะต้องใช้ Servo Valve หลายตัวเพื่อเปิด ปิดวาล์วให้ได้จังหวะทันกัน Valve Timing เพื่อส่งแรงพับที่เป็นจังหวะกดเป็นระยะเพื่อให้แผ่นโลหะถูกพับลงด้วยความแม่นยำ
© Copyright, August, 2021 เอกสารและข้อมูลในเว็บไซต์นี้มีลิขสิทธ์ ห้ามนำไปเผยแพร่หรือสื่อสารโดยมิได้รับอนุญาตจาก OilPure